กลอนสุภาพ

 เรามาเริ่มจาก การอ่านกลอนสุภาพกันก่อนนะคะ เชื่อว่าหลายคนคงอ่านกลอนสุภาพได้กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะว่ากลอนสุภาพ อ่านง่ายที่สุดแล้วแล้วใช่มั๊ยคะ ? 👍😂

    แน่นอนค่ะว่ากลอนสุภาพ เป็นพื้นฐานในการอ่านบทอาขยานทำนองเสนาะ ในสมัยตอนเราเรียน      ภาษาไทยนั้น เราต้องได้เจอกับกลอนสุภาพ หรือที่เรียกว่ากลอนแปด มาให้เราได้ฝึกการอ่านทำนองเสนาะนั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่ ก็คงคิดว่าอ่านกลอนสุภาพง่ายที่สุดในบรรดาบทร้อยกรอง แต่ใครจะไปคิดล่ะคะว่าการอ่านกลอนสุภาพ ก็ยังคงมีหลักการต่างๆ ที่ต้องฝึกฝน และพัฒนาการอ่านให้ถูกต้อง เเละไพเราะได้มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นก็เเสดงว่า มันเป็นสิ่งที่ยากเช่นกัน

กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่ง ซึ่งลักษณะคำประพันธ์ของภาษาไทย ที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ ซึ่งนับได้ว่ากลอนสุภาพเป็นกลอนหลักของกลอนทั้งหมด เพราะเป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด หากเข้าใจกลอนสุภาพ ก็สามารถเข้าใจกลอนอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น 

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E


แผนผังกลอนสุภาพ 



อ้างอิง

https://www.google.com/search?q=%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%94&rlz=1C1NHXL_thTH832TH832&sxsrf=ALeKk01g_TdJZnYW2CquorlwGH_nMpCm4w:1600499977714&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjBvomF1_TrAhUFILcAHfz7DVgQ_AUoAXoECBYQAw&biw=1366&bih=608#imgrc=XzVSx886GOvbIM&imgdii=mNuLXtMW1bgUKM


หลักการอ่านบทร้อยกรองประเภทกลอนสุภาพ

๑.การแบ่งวรรคจังหวะในการอ่านของกลอนสุภาพแต่ละวรรค กลอนสุภาพจะแบ่งจังหวะการ อ่านคำในแต่ละวรรคเป็น ๓ ช่วง ดังนี้ คือ

 ถ้าวรรคละ ๖ คำ จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๒

 ถ้าวรรคละ ๗ คำ จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๓

ถ้าวรรคละ ๘ คำ จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๒ -๓

ถ้าวรรคละ ๙ คำ จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๓

 ตัวอย่าง

                        ถึงบางซื่อ/ซื่อบาง/นี่สุจริต    เหมือนซื่อจิต/ที่พี่ตรง/จำนงสมร

                        มิตรจิต/ก็ขอให้/มิตรใจจร    ใจสมร/ขอให้ซื่อ/เหมือนซื่อบาง

                                                                                                        ( นิราศพระบาท สุนทรภู่ )

๒.คำที่สัมผัสนิยมอ่านเน้นคำเพื่อให้เกิดความไพเราะน่าฟั โดยเฉพาะคำควบกล้ำ ร,ล,ว

๓.ต้องอ่านให้ถูกต้องตามอักขรวิธีโดยเฉพาะคำควบกล้ำ ร,ล,ว

๔.การใส่อารมณ์ ในการอ่านกลอนควรใส่อารมณ์ที่สอดเเทรกลงไปในบทที่อ่านเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องเเท้เสียก่อน แล้วถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

๕.การอ่านให้รับสัมผัสเพื่อให้เกิดความไพเราะจากเสียงสัมผัสในวรรค



ตัวอย่าง
นิราศภูเขาทอง

                                                มาถึงบางธรณีทวีโศก                       ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น 
                                            โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น                 ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร 
                                             เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้             ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย 
                                             ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ      เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา 
                                             ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า         ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา 
                                             เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา      ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย 
                                             โอ้สามัญผันแปรไม่แท้เที่ยง                เหมือนอย่างเยี่ยงชายหญิงทิ้งวิสัย 
                                             นี่หรือจิตคิดหมายมีหลายใจ                ที่จิตใครจะเป็นหนึ่งอย่าพึงคิด
                                            ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์                   มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต 
                                            แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร              จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
           
  พระสุนทรโวหาร (ภู่)

อ้างอิง


อ้างอิง
        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กลอนเสภา

โคลงสี่สุภาพ