กลอนเสภา

     มาถึงบทประพันธ์สุดท้าย นั่นคือกลอนเสภา เชื่อว่าหลายคนที่ได้ยิน คงต้องตกใจ 😆 เพราะการ ขับเสภายากที่สุดในบรรดาบทร้องกรองทุกชนิด แต่หากขับเสภาได้ นั่นถือว่า มีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง การฝึกอ่านขับเสภาต้องอาศัยประสบการณ์ความสามารถจากการอ่านบทร้อยกรองทุกชนิด มาผสมผสานเพื่อที่จะฝึกการอ่านขับเสภา ตัวแอดมินเองก็มีหลักการง่ายๆ คือการจำจังหวะทำนองการขับเสภา จากเรื่องเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามมาเป็นแบบในการขับเสภาในเเต่ละบทนั่นเองค่ะ  

    กลอนเสภา เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งแต่งเพื่อใช้ขับ เพราะใช้เป็นกลอนขับ จึงกำหนดคำไม่แน่นอน มุ่งการขับเสภาเป็นสำคัญ จึงใช้คำ ๗ คำ ถึง ๙ คำ การส่งสัมผัสนอกเหมือนกับกลอนสุภาพ แต่ไม่บังคับหรือห้ามเสียงสูง ต่ำ ตามจำนวนคำแต่ละวรรค อยู่ในเกณฑ์กลอน ๗-๙ เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน 


แผนผังกลอนเสภา

อ้างอิง

หลักการอ่านบทร้อยกรองประเภทร่ายยาว

๑.ขั้นตอนการเอื้อน โดยมีข้อสังเกตุว่าถ้าบททั่วไปเอื้อนสั้น ถ้าบทเศร้าจะเอื้อนยาว ถ้าเศร้ามากจะเอื้อนยาวเหมือนเพลงหม้ายขันหมาก เช่นนั้น..
  -การเอื้อนสั้น เช่น
 ...เอ๊ย....จะกล่าวถึง/พลายงาม/ทรามสวาท  
เฉลียวฉลาด/แล้วกล้า/วิชา..เฮ้อ..เออ..ขยัน..ฮื้อ..
  -การเอื้อนกลางๆ เช่น
...เฮ้อ.......เงอ.................เอ่อ.....เอย...................ยาฮื้อ..
เจ้าพลายงาม/ความแสน/สงสารแม่
ชำเลืองแล/ดูหน้า/น้ำตา.......เฮ้อ..เออ...../ไหล....ฮื้อ
แล้วกราบกราน/มารดา/ด้วย....อา..ลัย...เอ่อ..เฮ้อ..เอย
ลูกเติบใหญ่/คงจะมา/หาแม่...เอ่อ..เฮ้อ..เออ..คุณ
............................................................
............................................................
-บทสุดท้ายหากจะลงจบมีข้อสังเกตุเพื่อความไพเราะขึ้นนะ
ให้ขึ้นด้วยเสียงกลางๆในวรรค ๑-๒ และจะขึ้นเสียงสูงในวรรคที่ ๓-๔  เช่น
เหลียวหลัง/ยังเห็นแม่/แลเขม้น.....เออ...
แม่ก็เห็น/ลูกน้อย/ละห้อยหา..ฮื้อ..
แต่เหลียวเหลียว/เลี้ยวลับ/วับวิญญาณ์....เฮ้อ...เออ...
โอ้เปล่าตา/ต่างสะอื้น/ยืน...เฮ้อ...เออ..ตะลึง....เงอ...ฮื้อ
           ............................

ข้อ สังเกตุ การขับเสภาที่ดีนั้น ต้องอ่านบทให้รู้ก่อนว่าเป็นบทอย่างไร เพราะการขับจะต้องใส่อารมณ์ตามบทนั้นๆ การอ่านคำต้องชัดเจนโดยเฉพาะคำควบกล้ำ  การเว้นวรรคของบทกลอนสำคัญที่สุดถ้าเป็นกลอนหก ให้เว้นวรรค ๒/๒/๒ ถ้ากลอนเจ็ดให้เว้นวรรค ๒/๒/๓ ถ้ากลอนแปดให้เว้นวรรค ๓/๒/๓ ถ้ากลอนเก้าให้เว้นวรรค ๓/๓/๓ การทอดเสียงให้เกิดความไพเราะ  ผู้ที่ขับเสภาดีก็เหมือนร้องเพลงดีดีนี่แหละ

อ้างอิง

ตัวอย่าง
เสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม 

 เจ้าพลายงามความแสนสงสารแม่ชำเลืองแลดูหน้าน้ำตาไหล
แล้วกราบกรานมารดาด้วยอาลัยลูกเติบใหญ่คงจะมาหาแม่คุณ
แต่ครั้งนี้มีกรรมจะจำจากต้องพลัดพรากแม่ไปเพราะไอ้ขุน
เที่ยวหาพ่อขอให้ปะเดชะบุญไม่ลืมคุณมารดาจะมาเยือน
แม่รักลูกลูกก็รู้อยู่ว่ารักคนอื่นสักหมื่นแสนไม่แม้นเหมือน
จะกินนอนวอนว่าเมตตาเตือนจะจากเรือนร้างแม่ไปแต่ตัว
แม่วันทองของลูกจงกลับบ้านเขาจะพาลว้าวุ่นแม่ทูนหัว
จะก้มหน้าลาไปมิได้กลัวแม่อย่ามัวหมองนักจงหักใจ 
นางกอดจูบลูบหลังแล้วสั่งสอนอำนวยพรพลายน้อยละห้อยไห้
พ่อไปดีศรีสวัสดิกำจัดภัยจนเติบใหญ่ยิ่งยวดได้บวชเรียน
ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศเจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน
แล้วพาลูกออกมาข้างท่าเกวียนจะจากเจียนใจขาดอนาถใจ
ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูกต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล
สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัยแล้วแข็งใจจากนางตามทางมา
เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้นแม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา
แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง 

                สุนทรโวหาร ( ภู่ )

อ้างอิง



อ้างอิง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กลอนสุภาพ

โคลงสี่สุภาพ