แม้ว่าร่ายยาว คนส่วนใหญ่อาจจะไม่คุ้นหูหรือไม่รู้จักกัน แต่ร่ายนั้นก็ยังเป็นบทประพันธ์ที่นักศึกษาวิชาชีพครูต้องเรียน 📗 เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการเรียนการสอน อีกทั้งร่ายยังเป็นบทประพันธ์ที่ใช้ ในการเเข่งขันการอ่านบทอาขยานทำนองเสนาะมาจนถึงทุกวันนี้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบท มหาเวสสันดรชาดก ตอน กัณฑ์มัทรี และ มหาเวสสันดรชาดก ตอน กัณฑ์กุมาร
ร่าย คือ คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด และมีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรองประเภทอื่น ถ้าพิจารณาให้ดีจะพบว่าร่ายมีลักษณะใกล้เคียงกับคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วมาก เพียงแต่กำหนดที่คล้องจองและบังคับวรรณยุกต์ในบางแห่ง
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2
แผนผังร่าย
อ้างอิง
หลักการอ่านบทร้อยกรองประเภทร่ายยาว
การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองประเภทร่าย นิยมอ่านหลบเสียงสูงให้ต่ำลงในระดับของเสียงที่ใช้อยู่ ส่วนเสียงตรีที่หลบต่ำลงนั้นอาจเพี้ยนไปบ้าง เช่น น้อยน้อย เป็น นอยนอย แต่เสียงจัตวา แม้จะหลบเสียงต่ำลงมักจะไม่เพี้ยน การอ่านร่ายทุกชนิดจะอ่านทำนองเหมือนกัน คือ ทำนองสูงด้วยเสียงระดับเดียวกัน และการลงจะหวะจะอยู่ที่ท้ายวรรคของทุกวรรค ส่วนจะอ่านด้วยลีลาใดนั้นขึ้นอยู่กับอารมณ์
ตามเนื้อความ ดังนี้
เนื้อความแสดงอารมณ์เศร้า ใช้น้ำเสียงเบาลง สั่นเครือ และทอดเสียงให้ช้าลงกว่าปกติ
เนื้อความแสดงอารมณ์โกรธ ใช้น้ำเสียงหนักแน่น เน้นเสียงดังกว่าปกติ กระชับ สั้น
เนื้อความแสดงอารมณ์ขบขัน ผู้อ่านต้องพยายามทำเสียงให้แสดงถึงความขบขัน โดยที่ ตัวเองต้อง ไม่หัวเราะขณะอ่าน
เนื้อความบรรยายหรือพรรณนา ต้องอ่านตามอารมณ์ของเนื้อความนั้น เช่น บรรยายหรือพรรณนาความงาม ใช้น้ำเสียงแจ่มใส ไม่ดัง หรือไม่เบาเกินไป
เนื้อความแสดงความศักดิ์สิทธิ์หรือยิ่งใหญ่ ใช้น้ำเสียงหนักแน่น เน้น แต่ไม่ห้วน
เนื้อความสั่งสอน ใช้น้ำเสียงไม่ดังหรือเบาเกินไป เน้นคำที่สั่งสอน แต่ไม่ห้วน
เนื้อความบรรยายการต่อสู้ ใช้น้ำเสียงดัง หนักแน่น ห้วน กระชับ
เนื้อความแสดงความตกใจ ใช้น้ำเสียงหนักเบา เสียงสั่นตามเนื้อความ
เนื้อความตัดพ้อต่อว่า ใช้น้ำเสียงหนักบ้าง เน้นบ้าง สะบัดเสียงบ้าง
การอ่านร่ายพยายามอ่านให้จบวรรค เพราะจังหวะหลักของร่ายทุกชนิดจะอยู่ที่ปลายวรรค ซึ่งเป็นคำส่งสัมผัส ส่วนจังหวะเสริมจะอยู่ที่คำรับ ดังนั้นเมื่ออ่านถึงคำรับสัมผัสจะต้องเน้นเสียงหรือทอดเสียง ซึ่งเป็นเสมือนการแบ่งวรรคไปในตัว เช่น ลูกรักเจ้าแม่เอย เจ้าเคยมาอาศัยนั่งนอน จังหวะหลักอยู่ที่คำส่งสัมผัส คือ เอย จังหวะเสริมอยู่ที่คำรับสัมผัส คือ การอ่านตอนจบผู้อ่านจะต้องทอดเสียงให้ยาวกว่าการทอดเสียงท้ายวรรคอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่าเรื่องที่ฟังกำลังจะจบแล้ว และเป็นการสร้างความประทับใจให้ผู้ฟังต้องการฟังอีก
อ้างอิง
ตัวอย่าง
มหาเวสสันดรชาดก ตอน กัณฑ์มัทรี
“...จึ่งตรัสว่าโอ้โอ๋เวลาปานฉะนี้เอ่ยจะมิดึกดื่น จวนจะสิ้นคืนค่อนรุ่งไปเสียแล้ว
หรือกระไรไม่รู้เลย พระพายรำเพยพัดมารี่เรื่อยอยู่เฉื่อยฉิว อกแม่นี้ให้อ่อนหิวสุด
ละห้อย ทั้งดาวเดือนก็เคลื่อนคล้อยลงลับไม้สุดที่แม่จะติดตามเจ้าไปในยามนี้ ฝูงลิง
ค่างบ่างชะนีที่นอนหลับ ก็กลิ้งกลับเกลือกตัวอยู่ยั้วเยี้ย ทั้งนกหกก็งัวเงียเหงาเหงียบ
ทุกรวงรัง แต่แม่เที่ยวเซซังเสาะแสวงทุกแห่งห้องหิมเวศ ทั่วประเทศทุกราวป่า
สุดสายนัยนาที่แม่จะตามไปเล็งแล สุดโสตแล้วที่แม่จะซับทราบฟังสำเนียง สุดสุรเสียง
ที่แม่จะร่ำเรียกพิไรร้อง สุดฝีเท้าที่แม่จะเยื้องย่องยกย่างลงเหยียบดิน ก็สุดสิ้นสุดปัญญา
สุดหาสุดค้นเห็นสุดคิด จะได้พานพบประสบรอยพระลูกน้อยแต่สักนิดไม่มีเลย จึ่งตรัส
ว่า เจ้าดวงมณฑาทองทั้งคู่ของแม่เอ๋ย หรือว่าเจ้าทิ้งขว้างวางจิตไปเกิดอื่น เหมือนแม่ฝัน
เมื่อคืนนี้แล้วแล.....”
เจ้าพระยาคลัง (หน)
อ้างอิง
http://www.satriwit3.ac.th/files/111026088592094_19051515150657.pdf
อ้างอิง
https://www.youtube.com/watch?v=tiAcXvGJLC4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น